“เมื่อ …เบาหวาน มาเคาะประตู”

หากจะนึกถึงโรคสักโรค หลายคนคงนึกถึง “โรคเบาหวาน” โรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือจะเป็นคนที่มีไขมันในเลือดสูง แต่หลายคนที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วอาจจะคิดว่า “ดูแลตัวเองดีขนาดนี้ คงไม่เป็นเบาหวานหรอก” อย่าเพิ่งคิดแบบนั้น!!!  ถ้าหากในครอบครัวของคุณ ยังมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ เพราะโรคเบาหวานเองก็สามารถถ่ายทอดมาจากพันธุกรรมได้เช่นกัน และนั้นถือว่าคุณอาจจะกลายเป็น “มนุษย์เบาหวาน”รายต่อไป

ในปัจจุบันพบว่ามีคนไทย ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากถึง2-3 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกๆปี ที่สำคัญ ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัว!!  ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี เท่ากับว่าคุณได้ปล่อยให้ โรคเบาหวาน ลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อย่าง โรคหัวใจ โรคทางสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย

โรคเบาหวาน ถือเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากคนไทยป่วยด้วย โรคเบาหวาน นี้มากถึง 2-3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย โรคเบาหวาน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโรคที่คุกคามคนไทย พบได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัว ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ป่วยได้ปล่อยให้ โรคเบาหวาน ลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้  ดังนั้น วันนี้ลองมาสำรวจดูว่าคุณอยู่ในข่ายเสี่ยง โรคเบาหวาน หรือไม่ พร้อม ๆ กับทำความเข้าใจ โรคเบาหวาน นี้อย่างถูกต้องกันค่ะ


โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) เกิดจากตับอ่อนสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” (Insulin) ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า ” โรคเบาหวาน ” นั่นเอง



 

ทั้งนี้ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมาก ๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นโรคเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย

 

ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่

1. โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า “โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง” (autoimmune) ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วย โรคเบาหวาน หมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า “ภาวะคั่งสารคีโตน” หรือ “คีโตซิส” (Ketosis)

2. โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin dependent diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นโรคเบาหวานได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป และผู้ป่วยโรคเบาหวานมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เหมือนกับโรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
– ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเพลีย บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น

– หากเป็น โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวที่ลดลงฮวบฮาบ ในช่วงระยะเวลาเพียงสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน โดยในเด็กที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน บางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน

– สำหรับคนที่เป็น โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตามช่องคลอดหรือตกขาว ในรายที่เป็นไม่มาก อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรค อื่น

– ผู้ป่วย โรคเบาหวาน บางคนมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก

-ผู้หญิงที่ป่วย โรคเบาหวาน บางคนอาจคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่เสียชีวิตแล้วโดยไม่ทราบสาเหตุ

– ในรายที่เป็น โรคเบาหวาน มานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น 

 

 

อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง
อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน มักจะเกิดเมื่อเป็นโรคเบาหวานมานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือปล่อยปละละเลย ทั้งนี้ โรคแทรกซ้อน โรคเบาหวาน ที่อาจพบได้ เช่น

1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด

2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)

3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วย โรคเบาหวาน ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมาก ๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)

5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น

6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนาน ๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

 

ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน

1. โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็น โรคเบาหวาน ไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจาก โรคเบาหวาน ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้

– ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์

– ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น

– ลดอาหารพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น

3. ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง

– ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรง ๆ

– เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรง ๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ

– อย่าเดินเท้าเปล่า ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน

– อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป

– ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง

– ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา

5. ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ที่กินยาหรือฉีดยารักษา โรคเบาหวาน อยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมาก ๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย

6. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่าง เดียว

7. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

8. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็ก ๆ) ที่เขียนข้อความว่า “ข้าพเจ้าเป็น โรคเบาหวาน ” พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที

9. ป้องกัน โรคเบาหวาน ด้วย การรู้จักกินอาหาร ลดของหวาน ๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็น โรคเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็น โรคเบาหวาน ในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรคโรคเบาหวาน ได้

10. ทานโพชง ด้วยสารสกัดจากสมุนไร เห็ดหลินจือ และโสมสกัดไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งเท่านั้น แต่ยังมีคุณกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย เนื่องจากในเห็ดหลินจือมีสารในกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์  (Polysaccharide)  ซึ่งที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน อีกทั้งยังช่วยให้น้ำตาลที่อยู่ในเลือดถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

 

Powered by MakeWebEasy.com