โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นหนึ่งในโรคที่คนปัจจุบันเป็นกันมาก และคนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ตัวว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง แต่หากปล่อยให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง ไปนาน ๆ อาจนำมาซึ่งโรคร้ายอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย วันนี้ เรา มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ โรคความดันโลหิตสูง มาบอกเพื่อเป็นความรู้กันค่ะ
อย่างไรจึงเรียกว่า โรคความดันโลหิตสูง
โดยปกติทุกคนจะมีความดันโลหิต ที่จะคอยผลักดันเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอัตราปกติหัวใจของคนเราจะเต้นอยู่ประมาณ 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ทั้งนี้ โดยปกติคนจะมีระดับความดันโลหิต 120/80-139/89 มิลลิเมตรปรอท แต่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า หากใครมีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตของคนไม่เท่ากันตลอดเวลา เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อม ท่าทาง อากัปกิริยา เช่น หากวัดความดันโลหิตในท่านอน จะมีค่าสูงกว่าท่ายืน รวมทั้งช่วงเวลาระหว่างวัน จิตใจ อารมณ์ ความเครียด อายุ เพศ ฯลฯ ก็เป็นสาเหตุให้ระดับความดันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน แต่คนกว่า 70% มักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่เมื่อเริ่มมีอาการแล้วจึงเริ่มใส่ใจรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ทันท่วงที
โรคความดันโลหิตสูง นำไปสู่โรคร้ายอะไร
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีความดันโลหิตเลี้ยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่สม่ำเสมอ ซึ่งนำมาสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
ระดับความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง
ความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริง ๆ
สาเหตุของ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะพบโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอาการป่วยบางประเภท เช่น อาการป่วยเกี่ยวกับสมอง ต่อมหมวกไต และต่อมไร้ท่อบางประเภท รวมทั้งโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เช่น โรคโลหิตจางอย่างรุนแรง เบาหวาน เป็นต้น
อาการของผู้เป็น โรคความดันโลหิตสูง
ปกติแล้วผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักไม่ปรากฎอาการใด ๆ ให้ทราบ อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ สูญเสียความจำ สับสน มึนงง ซึ่งล้วนเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นจึงทำให้คนไม่เอะใจ จึงไม่ได้รับการรักษา และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้
ภาวะแทรกซ้อนของ โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีคือ
1. ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง โดยตรง คือ
– ภาวะหัวใจวาย ที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว เกิดหัวใจโต และหัวใจวายตามมา
– หลอดเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน
2. ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบ หรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งหลอดเลือดสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรังจากการที่เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอได้ รวมทั้งอาการตาบอด ที่เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดแดงในตาค่อย ๆ เสื่อมลง จนอาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อมจนตาบอดได้
ทั้งนี้ มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ป่วน โรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้การรักษา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย 60-75%, เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือแตกราว 20-30% และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10%
ปัจจัยเสี่ยงต่อ โรคความดันโลหิตสูง
– พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พบว่า คนประมาณ 30-40% ที่บิดามารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า คนที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
– ความเครียด หากคนมีความเครียดสูง อาจทำให้ความดันโลหิตสูงไปด้วย
– อายุ โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับโรคความดันโลหิตสูง มักพบในผู้ที่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป แต่ในอายุต่ำกว่านี้ก็สามารถพบได้เช่นกัน
– เพศ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือน
– รูปร่าง มักพบในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนมากกว่าคนผอม
– เชื้อชาติ มักพบในคนอเมริกัน เชื้อสายแอฟริกา หรือกลุ่มผิวสี
– พฤติกรรมการกิน ผู้ที่ชอบทานเค็ม ทานเกลือ มักมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ
– สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในชนบท เพราะมีความเครียด และสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายรบกวนจิตใจอารมณ์มากกว่า
การรักษา โรคความดันโลหิตสูง
สามารถทำได้ 2 ทางคือ การใช้ยา และไม่ใช้ยา โดยในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ที่เริ่มรู้ตัวว่าเป็น แพทย์จะสามารถรักษา โรคความดันโลหิตสูง ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย แพทย์จะต้องให้ยา และพยายามควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
การป้องกัน และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง
– ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความดันโลหิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
– หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด เพราะเกลือจะทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น
– หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มไขมันจากสัตว์ เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ รวมทั้งอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาลขัดขาวทุกชนิด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น
– งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจดื่มได้ในปริมาณพอเหมาะ คือ วิสกี้ 2 ออนซ์ หรือ ไวน์ 8 ออนซ์
– พยายามควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วนมากเกินไป เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
– ออกกำลังกายให้พอควรและสม่ำเสมอ ด้วยการเดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ หรือปั่นจักรยาน ประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์
– พักผ่อนให้เพียงพอ
– ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด
เคล็ดลับวิธีลดความดันโลหิตสูง
นอกจากการรักษาและป้องกันแล้ว เราสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
– ลดปริมาณเกลือ ด้วยการหันมาทานอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด อย่าง กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่าง ๆ
– ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น ขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง และโพชง
– ผ่อนคลายความเครียดด้วยการฟังเพลง
– ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ๆ ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และความเครียด
– นั่งสมาธิ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที จะช่วยรักษาระดับความดันโลหิตได้
มาดูกันว่า “โพชง” นั้นสามารถช่วยในเรื่องของความดันได้ยังไง!
บัวบก คงเคยได้ยินกันใช่ไหมคะว่าน้ำใบบกช่วยแก้อาการช้ำในได้ แต่จริง ๆ แล้วบัวบกไม่ได้มีสรรพคุณแค่นั้นนะ แต่ยังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณในลดความดัน โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำว่าการดื่มน้ำใบบัวบกเป็นประจำทุกวันทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ แถมเจ้าบัวบกนี้ยังช่วยทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น และช่วยคลายเครียดได้ ซึ่งความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูง วิธีรับประทานก็ไม่ยากค่ะ เพียงนำบัวบกทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำดื่ม โดยอาจจะเติมน้ำตาลเล็กน้อยหรือจะผสมกับน้ำใบเตยเพื่อลดรสชาติเหม็นเขียวค่ะ
ขิง เป็นสมุนไพรโบราณที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมากกว่า 5,000 ปี ซึ่งไม่เพียงช่วยย่อยอาหาร ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย แต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากขิงเป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน หากรับประทานมากไปอาจจะทำให้เกิดร้อนใน และแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีและรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรปรึกษาแพทย์และระมัดระวังในการใช้ด้วยค่ะ
อบเชย สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหวานชนิดนี้ มีการวิจัยในญี่ปุุ่นพบว่ามันมีสรรพคุณในการช่วยลดความดันโลหิต โดยการนำผงอบเชยสำเร็จรูปหรือนำอบเชยมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำดื่ม เช้า เย็นและก่อนนอน นอกจากนี้อบเชยยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ใครที่กำลังป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีอาการความดันโลหิตสูงแทรกซ้อนละก็ ไม่ควรมองข้ามสมุนไพรชนิดนี้เลยละค่ะ เพราะให้ประโยชน์ตั้ง 2 ชั้นเชียวนะ
คาวตอง หรือพลูคาว หมอยาทั่วไป ทั้งอีสาน ภาคเหนือ หรือไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกะเพาะอาหาร